รู้หรือไม่? วัสดุที่ใช้ทำกระทงแต่ละรูปแบบ นั้นมีระยะเวลาการย่อยสลายตามธรรมชาติแตกต่างกันไป อย่างเช่นกระทงที่ทำจากใบตองต้นกล้วย ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 10 วัน และสำหรับกระทงอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันในปัจจุบัน นั้นก็คือกระทงที่ทำจากขนมปัง ซึ่งจะใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าเป็นการเอาไปลอยในลำคลองที่มีสภาพเสื่อมโทรมอยู่แล้วหล่ะก็ กระทงขนมปังก็ไม่ส่งผลดีกับคุณภาพน้ำ
เพราะฉะนั้นหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมควบคุมมลพิษ เลยออกไอเดียมาว่า “1 ครอบครัว 1 กระทง” คือพ่อแม่ลูก 3-4 คน ลอยกระทงร่วมกันแค่ใบเดียวก็พอแล้ว ไม่ต้องลอย 2-3 ใบให้เปลืองเงินในกระเป๋า แถมยังส่งผลเสียต่อแม่น้ำลำคลองโดยไม่รู้ตัว และถ้าจะให้เก๋กว่านั้นก็ชวนเพื่อนๆ มารวมเป็นก๊วนเป็นกลุ่มแล้วลอยกระทงแค่ใบเดียวพอ เกิดชาติหน้าฉันใด จะได้มาเป็นเพื่อนกันอีก แบบนี้กรมควบคุมมลพิษเขาบอกว่าเก๋ และเท่มาก
และจากสถิติการจัดเก็บกระทงในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลย้อนหลังในช่วงปี 2560-2557 พบว่าเป็นเรื่องที่น่าดีใจ เพราะว่ายอดของจำนวนกระทงโฟมมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่จำนวนกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาตินั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยปีที่แล้วมียอดขยะกระทงประมาณเกือบ 812,000 ใบ และข้อมูลที่น่าสนใจคือ กทม. จะมีขยะเพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 ตันในคืนวันลอยกระทง
และเชื่อว่าหากเราร่วมแรงร่วมใจกันตามแนวคิด “1 ครอบครัว 1 กระทง” (หรือจะไม่ลอยซะเลยก็ได้) ยอดขยะกระทงจะลดปริมาณลงอย่างแน่นอน ^__^
ที่มา : www.mnre.go.th , www.pcd.go.th
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น