He Jiankui นักวิจัยจาก The Southern University of Science and Technology ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ประกาศความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมในมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก โดยเป็นการทดลองกับทารกเพศหญิง 2 คน
หนูน้อยทั้งสองปฏิสนธิจากการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) โดยมีการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (ตัดต่อ เพิ่ม หรือเรียงลำดับของ DNA ใหม่) ที่เรียกว่า CRISPR ในการทำลายยีน CCR5 เพื่อหวังผลให้ทารกทั้งคู่สามารถทนต่อเชื้อ HIV ได้ จากนั้นจึงนำเอ็มบริโอกลับคืนเข้าสู่มดลูกเพื่อให้แม่ตั้งครรภ์ต่อไปตามขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
อย่างไรก็ตาม การตัดต่อพันธุกรรมในครั้งนี้ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงต่อในแง่ของจริยธรรม โดยเฉพาะในประเด็นการดัดแปลงยืนเพื่อป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีอื่นอยู่แล้ว เพราะอย่างที่รู้กันว่าการแก้ไขตัดต่อยีนยังคงเป็นสิ่งต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ
ซึ่งทาง SUSTech ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า “โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายนอกมหาวิทยาลัย และไม่ได้มีการอนุมัติอย่างเป็นทางการ แต่เราเชื่อว่าการทดลองของดอกเตอร์ Jiankui นั้นละเมิดหลักจริยธรรมด้านวิชาการ และยังผิดจรรยาบรรณอีกด้วย”
ในขณะที่ฝั่งของ He Jiankui เองก็ออกมาแถลงว่า เป้าหมายของเขาไม่ใช่การรักษาหรือป้องกันโรคติดต่อทางพันธุกรรม แต่เป็นการทำให้มนุษย์มีสามารถต้านทานต่อเชื้อที่อาจได้รับในอนาคต และเขายังแสดงความเห็นอีกด้วยว่า “การตัดต่อยีนเป็นสิ่งที่ควรถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรค แต่การดัดแปลงเพื่อเพิ่มไอคิวหรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาควรเป็นสิ่งต้องห้ามต่อไป”
ที่มา : www.geek.com , www.technologyreview.com
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น